ดอยแม่สลอง

doimaesalong08

ดอยแม่สลอง ตั้งอยู่ ต.แม่สลองนอก อ.แม่ฟ้าหลวง เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนชาวจีนฮ่อ แห่งกองพล 93 ที่ตั้งหลักแหล่งบนดอย แห่งนี้มานาน ปัจจุบันชุมชนชาวจีนบนดอยแม่สลอง มีชื่อว่า หมู่บ้านสันติคีรี ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล เฉลี่ย 1,200 ม. มีทัศนียภาพที่สวยงามและอากาศเย็นสบายตลอดปี รายได้หลักมาจากการปลูกชาอู่หลง บ้านสันติคีรี เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีประชากร ประมาณ 800 หลังคาเรือน มีทั้งวัด โบสถ์คริสต์ มัสยิด ระบบไฟฟ้า โทรศัพท์ และธนาคารทหารไทย ที่ให้บริการ อย่างสมบูรณ์แบบ

doimaesalong12

ประวัติดอยแม่สลอง
เป็นชุมชนของอดีตทหารจีนกองพล 93 สังกัดพรรคก๊กมินตั๋ง ของนายพลเจียงไคเช็ค ทำการรบ อยู่ทางตอนใต้ของจีน ในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ นำโดย เหมาเจ๋อตุง ยึดอำนาจสำเร็จ พรรคก๊กมินตั๋งจึงถอยร่น ไปปักหลักที่เกาะไต้หวัน กองพล 93 กลายเป็นกองกำลัง พลัดถิ่น ถูกกดดันอย่างหนัก จนถอยร่นเข้ามาใน เขตพม่า แต่ถูกฝ่ายพม่าผลักดัน เกิดการปะทะ กันหลายครั้งจนต้องถอยร่นมาจนถึงเทือกดอยตุงชายแดนไทย ฝ่ายพม่าได้ร้องเรียนไป ยังสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ.2496 และมีมติให้อพยพ กองกำลังพลัดถิ่นไปยังประเทศไต้หวัน แต่ทหารสังกัดนายพลหลี่เหวินฝาน และนายพลต้วนซีเหวินราว 3 หมื่นคน ทำเรื่องขอลี้ภัยในประเทศไทย เนื่องจากไม่แน่ใจในอนาคต เพราะไต้หวัน เป็นเพียงเกาะเล็กๆ รัฐบาลไทยอนุญาติโดยจัดสรรให้ทหารของนายพลหลี่เหวินฝาน ไปอยู่ที่ถ้ำง้อบ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ส่วนทหารสังกัดนายพลต้วน ซีเหวิน15,000 คน อยู่บนดอยแม่สลอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2504 เพื่อใช้เป็น กันชนกับชนกลุ่มน้อยทำให้ ดอยแม่สลอง ในยุคแรกเป็น ดินแดนลี้ลับต้องห้าม มีปัญหายาเสพติด และกองกำลัง ติดอาวุธมาตลอด ทางการไทยได้พยายามแก้ปัญหาโอน กองกำลังเหล่านี้มา อยู่ในความดูแลของ กองบัญชา การทหารสูงสุด กระทั่งปี พ.ศ.2515 ครม.มีมติรับทหารจีนคณะชาติให้อาศัยในแผ่นดินไทย อย่างเป็นทางการ ยุติการค้าฝิ่น ปลดอาวุธ และหันมาทำอาชีพเกษตรกรรม โดยพล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้ริเริ่มโครงการ ปลูกชา และปลูกสนสามใบ เพื่อทดแทนป่า ชุมชนบนดอยแม่สลองได้ชื่อใหม่ เป็นบ้านสันติคีรี มีการออกบัตรประชาชนให้เมื่อปี พ.ศ.2521 ดอยแม่สลองคืนสู่ความสงบ และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนับแต่นั้นมา

doimaesalong27

1.พระบรมธาตุเจดีย์ศรีนครินทราสถิตมหาสันติคีรี
ตั้งอยู่บนยอดสูงสุดที่ระดับความสูง 1,500 ม. เหนือหมู่บ้านสันติคีรี ห่างจากหมู่บ้าน 4 กม.มีถนนลาดยางตัดขึ้นไป ยังพระบรมธาตุฯ แต่ถนนสูงชัน คดเคี้ยวมาก พระบรมธาตุฯ สร้างแล้วเสร็จเมื่อราวปี พ.ศ.2539 เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่สมเด็จย่า เป็นเจดีย์แบบล้านนาประยุกต์ บนฐาน สี่เหลี่ยมลดชั้น สูงประมาณ 30 ม. ฐานกว้าง ด้านละประมาณ 15 ม. ประดับกระเบื้องสีเทา มีซุ้มจระนำด้านละสามซุ้ม เรือนธาตุประดับพระพุทธรูป ยืนสี่ทิศ องค์ระฆังประดับแผ่นทองแกะสลักลวดลาย ใกล้กับองค์เจดีย์เป็นวิหารแบบล้านนาประยุกต์ ที่ตั้งของพระบรม ธาตุฯ เป็นจุดสูงสุดของเทือก เขาดอยแม่สลองจึงชมทิวทัศน์ได้กว้างไกล โดยเฉพาะในยามเย็น ขณะเดียวกัน องค์พระธาตุยังเด่นเป็นสง่า มองเห็นแต่ไกลเป็นสัญลักษณ์อีกอย่าง ของดอยแม่สลอง
2. สุสานนายพลต้วน
อยู่บนเนินเหนือหมู่บ้าน แยกขึ้นไปทางด้านข้างคุ้มนายพลรีสอร์ต ประมาณ 1 กม. สร้างเมื่อปี พ.ศ.2523 แท่นหินอ่อน บรรจุร่างนายพลต้วนซีเหวิน อยู่ภายในศาลาเก๋งจีนขนาดใหญ่ สีขาว พื้นปูหินอ่อน ด้านหลังแท่น บรรจุศพ มีภาพถ่าย เก่าแก่เกี่ยวกับประวัติและผลงาน ด้านหน้าเป็นลาดเนิน มีตัวอักษร “ต้วน” ภาษาจีน สีทองบน พื้นสีฟ้า สุสานนายพล ต้วนอยู่บนเนินที่ระดับความสูงประมาณ 1,300 ม. สามารถมองเห็นบ้านสันติคีรีใน หุบต่ำลง ไปเบื้องล่าง เป็นจุดชม ทิวทัศน์ของหมู่บ้านที่ดีจุดหนึ่ง ด้านหน้ามีร้านชาสองร้าน ซึ่งจะเชิญชวนให้ผู้มา เยือนได้ ทดลองชิมชา
4.ชิมชาอู่หลงชมไร่ชา
ชาเป็นพืชเศรษฐกิจของบ้านสันติคีรี ในพื้นที่ปลูกหลายพันไร่ มีต้นชามากกว่า 2 ล้านต้น ที่นี่จึงมีไร่ชา โรงอบชาและ ร้าน จำหน่ายชาหลายสิบร้าน เรียงรายบนถนนสายหลัก ที่ผ่านกลางหมู่บ้าน ชาที่มีชื่อเสียงคือ ชาอู่หลง ซึ่งมีกลิ่นหอม พิเศษ ต้องมีวิธีการดื่มเฉพาะแบบชาวไต้หวัน ร้านจำหน่ายชา ทุกร้าน เช่นไร่ชา 101 วังพุดตาล ร้านชานายพลต้วนจะ เชิญชวนให้ผู้มาเยือนได้ทดลองชิมชา พูดคุยสอบถามถึงวิธีการชงชา เลือกซื้อหาชา อุปกรณ์ชงชาแบบต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถไปชมไร่ชา การเก็บชา โดยไม่เสียค่าบริการได้อีกด้วย
5. ไร่ชา101
เป็นไร่ชาที่คว้ารางวัลชนะเลิศในการประกวดสุดยอดชาโลกบนดอยแม่สลอง บริเวณทางเข้าจะเห็นความสวยงาม ของของต้นชาเรียงรายเป็นขั้นบันได สลับกับเบื้องหลังเป็นทิวเขา จึงทำให้ภาพต่างนั้นงดงามราวกับอยู่ในห้วง แห่งความฝัน ไร่ชา 101 โทร. 053-710029, 053-710030 เวลาทำการ 7.00 – 17.00 ทุกวัน
6.ไร่ชาวังพุฒตาล
ซึ่งจะมีสิงโตเงิน สิงโตทอง ที่อยู่ด้านหน้าประตูทางเข้า ซึ่งมีขนาดกว้าง 14×16 เมตรนอกจากนั้นยังมีกาน้ำชา ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกอีก 3 ใบตั้ง เรียงราย ราวกับประกาศความยิ่งใหญ่ความสุดยอดของแหล่งผลิตชา ในแต่ละ วันจะมี นักท่องเที่ยวเดินทางนิยมมาถ่ายรูปเป็นจำนวนมาก ไร่ชาวังพุดตาล โทร. 0 5376 5094

original-1398060265200

7.ชมดอกซากุระ
เส้นทางเข้าสู่หมู่บ้านสันติคีรี ทั้งด้านกิ่วสะไต และบ้านอีก้อสามแยก จะปลูกต้นนางพญาเสือโคร่งเรียงรายสอง ข้างทาง เป็นระยะทางกว่า 4 กม. ต้นนางพญาเสือโคร่งจะทิ้งใบจนหมด และผลิดอกสีชมพูพราวไป ทั้งต้นใน หน้าหนาวดูราวกับ ดอกซากุระของญี่ปุ่น สวยงามมาก ต้นนางพญาเสือโคร่งเหล่านี้ เป็นไม้พื้นถิ่นบนดอยทาง ภาคเหนือ เป็นไม้โตเร็ว นางพญาเสือโคร่งบนดอยแม่สลองนำมาปลูกไว้ในช่วงปี พ.ศ.2525 ช่วงเวลาที่เหมาะสม ระหว่างเดือน ธ.ค. – ก.พ.

1. รถยนต์ส่วนตัว
เดินทางไปยังดอยแม่สลองได ้2 เส้นทางคือ
– จาก อ. เมืองเชียงราย ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 มายัง อ. แม่จัน 29 กม.จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวง หมายเลข 1089 (แม่จัน-ท่าตอน) บริเวณหลัก กม. 856 ก่อนถึงทางเข้าตัว อ. แม่จันเล็กน้อย ผ่านน้ำพุร้อนป่าตึง (กม. 78) ลานทองวิลเลจ (ระหว่าง กม. 73-74 ) และบ้านห้วยหินฝน เมื่อถึงด่านตรวจยาเสพติด สามแยกกิ่วสะไต หลัก กม. 55 ให้เลี้ยวขวาไปตามเส้นทางขึ้นดอยคดเคี้ยวอีก 15 กม.
– เส้นทางสายเก่า ใช้ทางหลวงหมายเลข 10 ผ่าน อ. แม่จัน มุ่งหน้าไป อ. แม่สาย เมื่อถึงหลัก กม. 860 มีทาง แยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปดอยแม่สลองชัดเจน เส้นทางสายนี้ค่อนข้างแคบและคดเคี้ยว ผ่านหมู่บ้านชาวเขา เผ่าต่าง ๆ เป็นระยะ ๆ เมื่อถึงบ้านป่าเมี่ยง หลัก กม. 10 จะเป็นสามแยกศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขา แยกขวา เป็นทางหลวงหมายเลข 1338 ไปพระตำหนักดอยตุง ให้เลี้ยวซ้ายตามทางหลวง 1234 ระยะทาง 25 กม. ผ่านบ้าน อีก้อสามแยก ตรงหลัก กม. 9 ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 16 กม. จะถึงดอยแม่สลอง
2. รถโดยสารประจำทาง
ขาไปดอยหัวแม่คำ
– นั่งรถสองแถวสีเขียวแก่สายแม่จัน-ท่าตอนท่ารถอยู่ในตลาดแม่จัน ลงรถที่ด่านตรวจกิ่วสะไต จากนั้นต่อรถ สองแถวจากกิ่วสะไต ไปแม่สลอง เวลาออกไม่แน่นอน แต่จะมีรถมารอรับผู้โดยสารเป็นระยะ ๆ หรือรอโบกรถ เข้าไป ก็ได้ – รถสองแถวสีฟ้าสายป่าซาง-แม่สลอง บริเวณบ้านป่าซาง มีรถตั้งแต่ เวลา 07.00-16.00 น.  เหมาไป -กลับ 800 บาท รถคิว คนละ 60-100 บาท ขากลับจากแม่สลอง รถจะรอผู้โดยสารตรงบริเวณ เซเว่นอีเลฟเว่น
ขอบคุณภาพจากเว็บhttp://www.paiduaykan.com/

ใส่ความเห็น